เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ผศ.ดร.ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์ (หัวหน้าภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร) และคณาจารย์ จำนวน 4 คน ได้แก่ ผศ.ดร.สุกฤต ศิริขวัญพงศ์ อ.ดร.วัชรี บุญลือ อ.ดร.แพรว จันทรศิลปิน และ อ.ดร.ธันยวัน สวนทวี เข้าพบทำความรู้จักและการเจรจาความร่วมมือด้านวิชาการกับ Professor Dr. Markus Wenk [Head of Department of Biochemistry และ Director of Singapore Lipidomics Incubator (SLING)], Dr. Anne K Bendt (Associate Director) และ Dr. Amaury Cazenave Gassiot (Research assistant professor) ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Science Institute) Life Sciences Institute, National University of Singapore  ทางคณะฯ ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ซึ่งให้เกียรติแนะนำภาควิชาและศูนย์วิจัย พาเดินชมห้องปฏิบัติการ และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา lipidomics เช่น  mass spectrometry (MALDI และ ESI) Automated Sample Preparation เป็นต้น

นอกจากนี้ ได้มีการประชุมเจรจาระหว่างคณาจารย์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านงานวิจัย โดยวางแผนส่งนิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎี บัณฑิต สาขาอาหารและโภชนาการ ไปทำงานวิจัยระยะสั้นในด้าน lipidomics  ศูนย์บ่มเพาะด้านลิปิดโดมิกส์แห่งสิงค์โปร์ (Singapore Lipidomics Incubator; SLING) เป็นหน่วยวิจัยในสถาบันวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Science Institute) เชี่ยวชาญด้านลิปิโดมิกส์ (lipidomics) ในมนุษย์โดยการตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่องแมสสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ ในปัจจุบันในประเทศไทยยังมีการศึกษาทางด้านลิปิโดมิกส์กับโภชนาการและสุขภาพน้อยมาก ลิปิโดมิกส์มีความสัมพันธ์กับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ทางภาควิชาฯ ได้เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการซึ่งมีเครื่องแมสสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ที่ทันสมัยและปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างห้องปฏิบัติการใหม่ที่จะเป็นศูนย์รวมของเครื่องแมสสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ที่ทันสมัยในการทำวิจัยและร่วมมือกับภาคเอกชนในการหารายได้จากงานวิชาการและวิจัยด้วย ทางภาควิชาฯ จะร่วมมือในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับลิปิโดมิกส์ในมนุษย์และเชื่อมโยงกับโภชนาการและสุขภาพในอนาคตซึ่งที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ซึ่งมีประโยชน์ต่อคนไทยและทั่วโลกและหน่วยวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จะเป็นอ้างอิงได้ในอนาคตในด้านลิปิโดมิกส์

6.1 6.2 6.3 6.4 Preview6.5