การประชุมคณะกรรมการวิชาชีพสาขาการกำหนดอาหาร ครั้งที่1-1/2564 (ครั้งแรกในประวัติศาสตร์)

กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ โดยกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการประกอบโรคศิลปะได้ดำเนินการจัดประชุมคณะกรรมการวิชาชีพการกำหนดอาหาร ครั้งที่ 1-1/2564 วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564
ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 5 กองสถานพยายาลและการประกอบโรคศิลปะ อาคารกรมสนับสนุนบริการสุขภาพโดยได้รับเกียรติจาก นางแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นประธานในการประชุมและได้รับเลือกเป็นประธานกรรมการวิชาชีพคนแรกของสาขาการกำหนดอาหาร

Cr. https://mrd-hss.moph.go.th/mrd1_hss/?p=2993

ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ที่ได้รับการกำหนดตำแหน่งวิชาการ ปี 2561 – 2562

ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ที่ได้รับการกำหนดตำแหน่งวิชาการ ปี 2561 – 2562 ดังนี้

  1. ศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จงจิตร อังคทะวานิช
  2. ผศ.ดร.กิตณา แมคึเน็น
  3. ผศ.ดร.สุกฤต ศิริขวัญพงศ์

โครงการสร้างความสัมพันธ์กิจกรรมวิชาการและแลกเปลี่ยนนิสิตภาคฤดูร้อน

การแลกเปลี่ยนอาจารย์กับ Department of Community Nutrition

วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ผศ.ดร.ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์ เป็นอาจารย์อาคันตุกะบรรยายเรื่อง  “Overview of Thailand Maternal and Child Nutrition Program” ให้กับนิสิตนานาชาติระดับปริญญาตรีที่เข้ารับการอบรมในหลักสูตรภาคฤดูร้อนระยะสั้น Maternal and child nutrition programs in Indonesia: The first 1,000 days of life” จัดโดย Department of Community Nutrition, Faculty of Human Ecology, IPB University

การส่งเสริมศักยภาพของนิสิตแลกเปลี่ยนไทย

ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหารประสบความสำเร็จในการส่งนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร จำนวน 2 คน ได้แก่ นางสาวนาระดา ทาทอง และนางสาวศุภิสรา ภัทรธรสกุล ไปพัฒนาศักยภาพทางวิชาการในหลักสูตรภาคฤดูร้อนระยะสั้น เรื่อง Maternal and child nutrition programs in Indonesia: The first 1,000 days of life” จัดโดย Department of Community Nutrition, Faculty of Human Ecology, IPB University ระหว่างวันที่ 19-23 เมษายน พ.ศ. 2562 มีนิสิตเข้ารับการอบรม จำนวนทั้งหมด 31 คน มาจากประเทศญี่ปุ่น จำนวน 15 คน ประเทศอินโดนีเซีย จำนวน 11 คน ประเทศมาเลเซีย จำนวน 3 คน และประเทศไทย จำนวน 2 คน

การอบรมครั้งนี้มีนิสิตได้เรียนรู้ปัญหาทุพโภชนาการในแม่และเด็กและโปรแกรมการดูแลอนามัยแม่และเด็กในประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศไทย ประเทศฟิลิปปินส์และประเทศญี่ปุ่น และโภชนศึกษาในโรงเรียนในกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เรียนรู้ระบบการให้บริการสุขภาพและโภชนาการของแม่และเด็กในชุมชนและการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมอนามัยแม่และเด็ก บทบาทของ NGO ในการส่งเสริมอนามัยแม่และเด็กในประเทศอินโดนีเซีย รวมทั้งได้เยี่ยมชมสถานให้บริการสุขภาพและโภชนาการของแม่และเด็กในชุมชน ได้แก่ Puskesmas Sindangbarang, Posyandu Bantarkemang และสถานรับเลี้ยงเด็ก Agriananda  นอกจากนี้ นิสิตได้เรียนรู้บทบาทของผู้ประกอบการอาหารในการส่งเสริมสุขภาพและโภชนาการของแม่และเด็กในประเทศอินโดนีเซียและการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพ เยี่ยมชมสถานประกอบอาหารขนาดใหญ่ (โรงงานผลิตอาหาร Nestle karawang) และวิสาหกิจอาหารขนาดย่อมที่เชื่อมโยงเครือข่ายกับชุมชน (บริษัท Agrisocio) และได้ฝึกปฏิบัติผลิตคุกกี้แคลเซียมสูงสำหรับส่งเสริมโภชนาการแม่และเด็ก ส่วนการประยุกต์ใช้ความรู้ในการสื่อสารทางโภชนาการและพัฒนาการแสดงออก นิสิตได้มีโอกาสส่งโปสเตอร์เข้าประกวดภายใต้หัวข้อ “How to improve maternal and child in Indonesia, the first 1,000 days of life” แม้จะไม่ได้รับรางวัลใดๆ แต่นิสิตได้ประสบการณ์การจัดทำสื่อและการนำเสนอในการประกวดผลงาน เป็นต้น นิสิตพึงพอใจมากในการไปพัฒนาศักยภาพและได้แลกเปลี่ยนทางวิชาการตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ   11.1  11.211.1311.1211.1411.15 11.3 11.5 11.6 11.7 11.8 11.9 11.10

การต่ออายุบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ

วันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ผศ.ดร.ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์ หัวหน้าภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร เป็นตัวแทนคณบดีคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการต่ออายุบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง ผศ.ดร.ปาลนี อัมรานนท์ คณบดีคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ Professor Dr. Ir. Ujang Sumarwan, Dean of Faculty of Human Ecology, Institut Pertanian Bogor (IPB) University ประเทศอินโดนีเซีย ซึ่ง MOU ครอบคลุมความร่วมมือทางวิชาการ 8 ด้าน ดังนี้

  1. Conduct of collaborative research projects
  2. Exchange of faculties, researchers and technical supporting staffs
  3. Exchange of students
  4. Establish joint supervision for graduate students
  5. Conduct of lecture and symposia
  6. Establish joint publications
  7. Exchange of academic information and materials
  8. Development and promotion of other academic cooperation as mutually agreed10.110.2 10.3

การรับนิสิตต่างชาติเข้าศึกษาระยะสั้น ประจำภาคต้น 2562

ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหารได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นิสิตในกลุ่มประเทศเอเชียและประเทศอื่นๆ (One semester Scholarship Program for ASEAN and NON– ASEAN Countries) จำนวน 4 ทุน ซึ่งเป็นทุนการศึกษาระยะสั้น 1 ภาคการศึกษา ระยะเวลา 4 เดือน โดยนิสิตแลกเปลี่ยนจาก Department of Community Nutrition, Faculty of Human Ecology, IPB University ประเทศอินโดนีเซียที่ได้รับทุนมีรายนาม ดังต่อไปนี้

  1. MS Jasmine Firda Arija
  2. MS Tasya Putri Utami
  3. MS Hellen Setyawati
  4. MS Ika Puspa Windardi

 

โครงการความร่วมมือกับวิชาการกับมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศเอเชีย

เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์ หัวหน้าภาควิชาภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร เป็นวิทยากรบรรยายในงานประชุมวิชาการโภชนาการแห่งเอเชีย (Asian Congress of Nutrition 2019) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 – 7 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อสร้างความร่วมมือกับวิชาการกับมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศเอเชีย โดยได้ร่วมบรรยายแลกเปลี่ยนกับคณบดี/ผู้อำนวยการ/หัวหน้าภาควิชาของสถาบันทางด้านอาหาร โภชนาการและการกำหนดอาหารจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ใน Co-symposium: Nutrition Higher Education เรื่อง “Past Experiences and Future Prospects on Nutrition Higher Education Collaboration in Asia” โดยมีผู้เข้าร่วมบรรยายจากสถาบันการศึกษา 6 ประเทศ ได้แก่ ประเทศเกาหลี ประเทศญี่ปุ่น ประเทศไทย ประเทศฟิลิปปินส์ ประเทศมาเลเซีย และประเทศอินโดนีเซีย ดังนี้

  1. Jeongseon Kim, Department of Cancer Biomedical Science, Graduate School of Cancer Science and Policy, National Cancer Center-GCSP, Korea
  2. Leila S. Africa, Director of Institute of Human Nutrition and Food, College of Human Ecology, University of the Philippines-Los Banos, Philippines
  3. Nobuko Murayama, Dean of Faculty of Human Life Studies, University of Niigata Prefecture, Japan
  4. Norimah Karim, Head of Nutritional Science Program, Faculty of Health Sciences, National University of Malaysia, Malaysia
  5. Sri Anna Marliyati, Head of Department of Community Nutrition, Faculty of Human Ecology, IPB University (Bogor Agricultural University), Indonesia
  6. Tipayanate Ariyapitipun, Head of Department of Nutrition and Dietetics, Faculty of Allied Health Sciences, Chulalongkorn, Thailand

ในการบรรยายได้เน้นให้เห็นความสำคัญของการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและความร่วมมือของมหาวิทยาลัยในภูมิภาคเอเชียในการร่วมมือด้านอาหารและโภชนาการในการต่อต้านภาวะทุพโภชนาการทั้งขาดและเกิน (double burden malnutrition) รวมทั้งนำเสนอแลกเปลี่ยนข้อมูลและประชาสัมพันธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและหลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาอาหารและโภชนาการ กิจกรรมด้านการวิจัยของคณาจารย์ในภาควิชาฯ และการแลกเปลี่ยนนิสิตกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคอื่นๆ นอกจากนั้นได้ประชาสัมพันธ์และชักชวนนักศึกษาและอาจารย์ชาวต่างชาติในการสมัครทุนการศึกษาของจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยที่ให้แก่นิสิตในกลุ่มประเทศเอเชียและประเทศอื่นๆ ได้แก่ One semester Scholarship Program for ASEAN and NON– ASEAN Countries ซึ่งเป็นทุนการศึกษาระยะสั้น และ Graduate Scholarship Program for ASEAN and NON– ASEAN Countries ซึ่งเป็นทุนการศึกษาระยะยาว ส่วนวิทยากรจากสถาบันการศึกษาต่างประเทศอื่นได้แลกเปลี่ยนข้อมูลหลักสูตร งานวิจัยและกิจกรรมแลกเปลี่ยนนิสิตในทำนองเดียวกัน ทั้งนี้กับคณบดี/ผู้อำนวยการ/หัวหน้าภาควิชาของสถาบันจากประเทศต่างๆ เห็นด้วยกันว่าต้องการให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันในอนาคตทั้งในการแลกเปลี่ยนนิสิต แลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างอาจารย์ทั้งด้านการเรียนการสอนและวิจัย รวมทั้งการจัดการประชุมหรือสัมมนาระหว่างประเทศ ผู้เข้าร่วมประชุมให้ความสนใจซักถามข้อมูลและแลกเปลี่ยน พร้อมทั้งเสนอให้มีความร่วมมือด้านการวิจัยระหว่างสถาบันการศึกษาของประเทศต่างในภูมิภาคเอเชียในการเก็บข้อมูลแบบมหภาพปัญหาด้านอาหารและโภชนาการที่คล้ายคลึงกันเพื่อให้เห็นภาพรวมของภูมิภาคเอเชีย ในงานได้พบปะบัณฑิตเก่าและนิสิตแลกเปลี่ยนชาวอินโดนีเซียที่เคยมาศึกษาระยสั้นในภาควิชาฯ  รวมทั้งได้ทำความรู้จักกับนิสิตแลกเปลี่ยนชาวอินโดนีเซียที่ได้ทุนระยะสั้นจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกำลังจะเดินทางมาศึกษาที่ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร ภาคต้นปีการศึกษา 2562 นี้ด้วย8.2 8.18.3 8.4

โครงการความร่วมมือและพัฒนาด้านการวิจัยกับสถาบันต่างประเทศ

เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ผศ.ดร.ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์ (หัวหน้าภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร) และคณาจารย์ จำนวน 4 คน ได้แก่ ผศ.ดร.สุกฤต ศิริขวัญพงศ์ อ.ดร.วัชรี บุญลือ อ.ดร.แพรว จันทรศิลปิน และ อ.ดร.ธันยวัน สวนทวี เข้าพบทำความรู้จักและการเจรจาความร่วมมือด้านวิชาการกับ Professor Dr. Markus Wenk [Head of Department of Biochemistry และ Director of Singapore Lipidomics Incubator (SLING)], Dr. Anne K Bendt (Associate Director) และ Dr. Amaury Cazenave Gassiot (Research assistant professor) ณ สถาบันวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Science Institute) Life Sciences Institute, National University of Singapore  ทางคณะฯ ได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี ซึ่งให้เกียรติแนะนำภาควิชาและศูนย์วิจัย พาเดินชมห้องปฏิบัติการ และเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา lipidomics เช่น  mass spectrometry (MALDI และ ESI) Automated Sample Preparation เป็นต้น

นอกจากนี้ ได้มีการประชุมเจรจาระหว่างคณาจารย์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางด้านงานวิจัย โดยวางแผนส่งนิสิตหลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎี บัณฑิต สาขาอาหารและโภชนาการ ไปทำงานวิจัยระยะสั้นในด้าน lipidomics  ศูนย์บ่มเพาะด้านลิปิดโดมิกส์แห่งสิงค์โปร์ (Singapore Lipidomics Incubator; SLING) เป็นหน่วยวิจัยในสถาบันวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (Life Science Institute) เชี่ยวชาญด้านลิปิโดมิกส์ (lipidomics) ในมนุษย์โดยการตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่องแมสสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ ในปัจจุบันในประเทศไทยยังมีการศึกษาทางด้านลิปิโดมิกส์กับโภชนาการและสุขภาพน้อยมาก ลิปิโดมิกส์มีความสัมพันธ์กับโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในปัจจุบันเป็นอย่างมาก ทางภาควิชาฯ ได้เข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการซึ่งมีเครื่องแมสสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ที่ทันสมัยและปัจจุบันอยู่ระหว่างการก่อสร้างห้องปฏิบัติการใหม่ที่จะเป็นศูนย์รวมของเครื่องแมสสเปคโตรโฟโตมิเตอร์ที่ทันสมัยในการทำวิจัยและร่วมมือกับภาคเอกชนในการหารายได้จากงานวิชาการและวิจัยด้วย ทางภาควิชาฯ จะร่วมมือในการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับลิปิโดมิกส์ในมนุษย์และเชื่อมโยงกับโภชนาการและสุขภาพในอนาคตซึ่งที่จะสร้างองค์ความรู้ใหม่ซึ่งมีประโยชน์ต่อคนไทยและทั่วโลกและหน่วยวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่จะเป็นอ้างอิงได้ในอนาคตในด้านลิปิโดมิกส์

6.1 6.2 6.3 6.4 Preview6.5

โครงการสร้างความสัมพันธ์กิจกรรมวิชาการกับมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียน

ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหารสานสัมพันธ์และร่วมมือทางวิชาการกับ Department of Nutrition, Chung Shan Medical University ประเทศไต้หวัน โดยปีนี้เป็นปีแรกที่ส่งนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตของหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร จำนวน 4 คน ได้แก่ นางสาวธนภร แก้วประดับ นางสาวนาระดา ทาทอง นางสาววิรมณ จงถนอมกิจ และนางสาวอภิชญา พิชญ์ผล ไปพัฒนาศักยภาพทางวิชาการ ณ Department of Nutrition, Chung Shan Medical University ระหว่างวันที่ 13-18 เมษายน พ.ศ. 2562 โดยมี Professor Dr.Han-Hsin Chang, Chair of Department of Nutrition, Chung Shan Medical University ประเทศไต้หวัน เป็นอาจารย์ผู้ดูแลในการพัฒนาศักยภาพของนิสิตในต่างประเทศ เพื่อให้นิสิตมีความรู้รอบตัวให้ทันกับวิทยาการด้านโภชนาการในระดับนานาชาติ เปิดโลกทัศน์และเรียนรู้การปรับตัวจากประสบการณ์ตรงที่ได้เชื่อมโยงทางวิชาการกับนานาชาติ รวมทั้งเผยแพร่และแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมกับนิสิต อาจารย์และนักวิจัยต่างชาติ โดยนิสิตได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านกิจกรรมต่างๆ  เช่น การฝึกปฏิบัติใช้แบบประเมิน Geriatric Functional Assessment ศึกษาการให้บริการในคลินิกโรคเบาหวาน การให้โภชนศึกษาแก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาล (Nutrition Education) แนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารในประเทศไต้หวัน การเยี่ยมชมระบบการทำงานฝ่ายโภชนาการในโรงพยาบาล เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ เป็นต้น นิสิตพึงพอใจมากในการไปแลกเปลี่ยนทางวิชากครั้งนี้5.1 5.2

คณาจารย์ให้การตอนรับ Professor Dr. Alexander Haslberger

เมื่อวันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 เวลา 10.00 – 12.00 น. ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร ประกอบด้วย ผศ.ดร.สถาพร งามอุโฆษ อาจารย์ ดร.กิตณา แมคึเน็น อาจารย์ ดร.สุกฤต ศิริขวัญพงศ์ อาจารย์ ดร.วัชรี บุญลือ อาจารย์ ดร.แพรว จันทรศิลปิน และ อาจารย์ ดร.ธันยวัน สวนทวี ได้ให้การต้อนรับ Professor Dr. Alexander Haslberger จาก Department of Nutritional Sciences, University of Vienna และพูดคุยหารือแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับงานวิจัยที่จะร่วมมือกันในอนาคต4.34.2 4.1