ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2559

ประกาศรับสมัครสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ (หลักสูตรนานาชาติ)

ประจำภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2559

Apply now for Prospective Postgraduate Students in Food and Nutrition (International Program) Semester 1, 2016

 

มีทุนค่าเล่าเรียนและเงินทุนสนับสนุน สำหรับนิสิตที่มีผลการเรียนดี

Scholarship and Financial aid will be provided for Outstanding Students.

 

ช่วงเปิดรับสมัคร : 1 – 30 เมษายน 2559

Application Submission : 1 st  – 30 th  April 2016

 

ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่   http://www.grad.chula.ac.th

More information, Please visit  http://www.grad.chula.ac.th

 

Postgrad Brochure

 

 

นิสิตปริญญาโท-เอก เข้าศึกษาดูงาน ณ สถาบันโภชนาการ มหิดลฯ

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2559 ที่ผ่านมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์ อาจารย์ผู้ประสานงานรายวิชา Food Product Development for Health ได้นำคณาจารย์ เจ้าหน้าที่และนิสิตปริญญาโท-เอก หลักสูตรอาหารและโภชนาการ (นานาชาติ) ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ จำนวน 14 คน เข้าศึกษาดูงาน ณ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพ ตลอดจนเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการที่ใช้ศึกษาและวิจัยทางด้านอาหารและโภชนาการ

ในการนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้การต้อนรับและนำคณาจารย์และนิสิตเข้าเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการต่างๆที่ใช้ศึกษาและวิจัยทางด้านอาหารและโภชนาการ นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาณดี นิติธรรมยง รองผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายและแผน ได้ให้การบรรยายแก่นิสิตในเรื่อง การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ และนำคณะฯเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการต่างๆ เช่น การวิเคราะห์สารอาหารในตัวอย่างทดสอบทางชีวภาพ การวิเคราะห์คุณภาพและความปลอดภัยอาหาร โรงงานทดลองผลิตอาหาร ห้องทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส เป็นต้น  ซึ่งจากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ทำให้นิสิตได้รับความรู้ทางด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพมากขึ้น ซึ่งจะเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางอาหารและโภชนาการต่อไป

 

S__22003779

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วันทนีย์ เกรียงสินยศ ให้การต้อนรับและบรรยายแนะนำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

S__22003790

นำคณะฯ เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการครัวสำหรับงานวิจัยทางอาหารและโภชนาการ

S__22003818

นำคณะฯ เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ การวิเคราะห์การเผาผลาญพลังงานของร่างกายขณะพัก

S__22003827

เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ การวิเคราะห์องค์ประกอบร่างกายโดยเทคนิค Dual-energy X-ray absorptiometry (DEXA)

S__22003840

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาณดี นิติธรรมยง ให้การบรรยายแก่นิสิตในเรื่อง การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อสุขภาพ

S__22003842

 นำคณะฯ เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการการวิเคราะห์ทางอาหารและโภชนาการ

S__22003845

นำคณะฯ เยี่ยมชมโรงงานทดลองผลิตอาหาร

S__22003849

นำคณะฯ เยี่ยมชมห้องทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส

S__22003857

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพยเนตร อริยปิติพันธ์ มอบของที่ระลึกแก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาณดี นิติธรรมยง และถ่ายภาพร่วมกัน

 

ร่วมสนุกกับกิจกรรม Win-A-Watermelon

กิจกรรมร่วมสนุก ร่วมลุ้นชิงของที่ระลึก….
จาก เวปไซต์ของภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร
คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1.ถ่ายรูป มื้ออาหารเพื่อสุขภาพ

2.เติม คำบรรยายใต้ภาพให้โดนใจ

3.POST ลง Facebook ติด hashtag ดังนี้

#VisitUS

#NDCHULAWEBSITE

#www.nd.ahs.chula.ac.th

#WinAWatermelon

(**อย่าลืมตั้งสถานะรูปภาพเป็น Public**)

 

หมดเขตร่วมสนุก  29 ก.พ. 59                   

ประกาศรายชื่อผู้โชคดี 1 มี.ค. 59

 

Slide1

ประกาศรับสมัครทุน (เพิ่มเติม) โครงการสร้างความสัมพันธ์กิจกรรมวิชาการกับมหาวิทยาลัยในกลุ่มอาเซียน/เอเชีย

ประกาศรับสมัครทุน โครงการสร้างความสัมพันธ์กิจกรรมวิชาการกับมหาวิทยาลัยในกลุ่มประเทศอาเซียน/เอเชีย

 

โครงการ HK INDO 2558 7-3-59

 

สำหรับนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร ชั้นปีที่ 3-4 จำนวน 4 คน เดินทางไปยัง The University of Hong Kong ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน  และนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร ชั้นปีที่ 3-4 จำนวน 5 คน เดินทางไปยัง Bogor Agricultural University ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเข้าร่วมการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน เยี่ยมชมห้องปฏิบัติการ เพิ่มพูนความรู้ด้านวิชาการที่ทันสมัยในระดับนานาชาติ และแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมกับนิสิตชาวต่างชาติ ระหว่างวันที่ 13-17 เมษายน 2559

รายละเอียดการสมัคร ดังนี้

image1 (1)

image2 (1)

ดาวน์โหลดเอกสาร

  1. ใบสมัครขอรับทุน 

ติดตามกิจกรรมร่วมสนุกกับเวปไซต์ NDCHULA ลุ้นรับของที่ระลึก!!

ติดตามกิจกรรมร่วมสนุกกับเวปไซต์ใหม่ของภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

www.nd.ahs.chula.ac.th ลุ้นรับของที่ระลึกจากภาควิชาฯ เร็วๆนี้ !!!

โครงการเด็กกินมื้อเช้า…เรายิ้ม

ในยุคดิจิตอลที่คุณแม่ส่วนใหญ่ต้องรับบทบาททั้งเป็นแม่บ้านและเวิร์คกิ้งวูแมนทำให้ไม่มีเวลาเพียงพอในการเตรียมอาหารเช้าให้กับลูกน้อยซึ่งอาจส่งผลให้เด็กๆ ไม่ได้รับประทานอาหารเช้า หรือ ได้รับประทานแต่อาจมีคุณค่าทางโภชนาการไม่เพียงพอตามที่ร่างกายต้องการ   ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ทำการสำรวจเด็กวัยเรียนอายุระหว่าง 5-11 ปีจากโรงเรียนประถมในเครือสาธิตแห่งหนึ่งถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารเช้า จากการสำรวจเมนูอาหารเช้าที่เด็กๆ ชอบรับประทานพบว่า เมนูโจ๊กได้รับความนิยมจากเด็กๆ สูงเป็นอันดับ 1 ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยก่อนหน้านี้ของ ดร. ประไพศรี ศิริจักรวาล และคณะ ซึ่งศึกษาเด็กนักเรียนชั้นประถม 843 คน ในกรุงเทพมหานคร

jok2

jok4

 

    jok6 ผศ.ดร.สุวิมล ทรัพย์วโรบล หัวหน้าภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “อาหารเช้าเป็นมื้อที่สำคัญที่สุดของวันเพราะเป็นการเติมพลังงานให้ร่างกายและสมอง โดยเด็กที่รับประทานอาหารเช้าเป็นประจำมักจะเป็นเด็กที่มีสมาธิจดจ่อกับการเรียน มีความกระตือรือร้นและอารมณ์ดี”

หากคุณแม่ไม่มีเวลามาก ก็สามารถเลือกอาหารที่สามารถเตรียมได้ง่ายๆ อย่าง เมนูโจ๊กซึ่งผลสำรวจออกมาว่าเป็นเมนูที่เด็กๆ ชื่นชอบ และปัจจุบันก็มีผลิตภัณฑ์โจ๊กกึ่งสำเร็จรูปออกวางจำหน่ายมากมาย แต่ขอแนะนำให้เติมเนื้อสัตว์และผักลงไปด้วยเสมอ เพราะอาหารเช้าที่เหมาะสมกับเด็ก นอกจากคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานแล้วก็ควรมีโปรตีน โดยเลือกเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่ายและไม่ติดมัน เช่น เนื้อปลา เนื้ออกไก่ เนื้อหมูสันใน เป็นต้น โดยอาหารเช้าที่ดีควรให้พลังงานประมาณ 300-500 กิโลแคลอรี สำหรับการเจริญเติบโตทางร่างกายและพัฒนาการทางสมองและอารมณ์ที่สมวัย รวมทั้งควรมีสารอาหารที่สำคัญ เช่น วิตามินเอ บี 1 บี 3 บี 6 และธาตุเหล็ก

 

 

เพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้คุณแม่ได้ปรุงเมนูโจ๊กที่อุดมไปด้วยสารอาหารที่ครบถ้วน สะดวกและทำได้ง่าย นิสิตภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้สร้างสรรค์ 8 เมนูโจ๊กที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนเมือง และใช้วัตถุดิบที่คุณแม่หาซื้อได้ง่ายจากตลาดและซุปเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป  เริ่มจาก

FullSizeRender (4)

  1. โจ๊กภูเขาไฟ โดยนำสาหร่ายวากาเมะและปูอัดมาตกแต่งเป็นภูเขาไฟบนหน้าโจ๊ก ซึ่งให้สารอาหารครบถ้วนแต่ให้พลังงานไม่มาก เหมาะสมสำหรับนักเรียนที่มีน้ำหนักเกิน
  2. โจ๊กทูน่า โดยนำทูน่ากระป๋องในน้ำแร่ และผักหั่นเต๋ามาโรยลงบนหน้าโจ๊ก ใช้เวลาปรุงอย่างรวดเร็วไม่เกิน 5 นาทีแถมยังอัดแน่นด้วยโอเมก้า-3 จากเนื้อปลาทูน่า และใยอาหารสูงเหมาะกับวัยที่กำลังเจริญเติบโตทั้งทางร่างกายและพัฒนาสมอง
  3. โจ๊กแฮมเบิร์ก เพียงเตรียมหมูก้อนแฮมเบอร์เกอร์ไว้ล่วงหน้า แล้วเข้าไมโครเวฟในตอนเช้าก่อนนำมาวางบนหน้าโจ๊กรสหมูก็สามารถอิ่มอร่อยกันได้แล้ว แนะนำให้ใส่เห็ดเข็มทองซึ่งหาซื้อได้ง่ายและมีรสชาติที่เด็กๆ ชอบลงไปข้างๆ ด้วย ให้ทั้งโปรตีนและใยอาหารพร้อมวิตามินที่จำเป็น
  4. โจ๊กนม ใช้นมเดือดๆ ชงโจ๊กแทนน้ำร้อน โปะหน้าด้วยชีส และขนมปังกรอบ ได้โปรตีนและแคลเซียมที่ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง เหมาะกับเด็กวัยกำลังเจริญเติบโตและผู้ที่ชื่นชอบความอร่อยของนมและชีส
  5. โจ๊กเบนโตะ ลองทำโจ๊กที่มีกลิ่นอายของประเทศญี่ปุ่นให้ลูกๆ ทานโดยโรยหน้าด้วยไข่กุ้ง ยำสาหร่ายญี่ปุ่น ไข่หวาน และปลาแซลมอน โดยเตรียมวัตถุดิบไว้ ล่วงหน้าและเพียงวางลงบนหน้าโจ๊กในตอนเช้าก็เสร็จได้ในเวลาไม่นาน ให้ความกรุบกรอบจากไข่กุ้ง รสเปรี้ยวเล็กน้อยจากยำสาหร่าย รสหวานนุ่มนวลจากไข่หวาน และรสชาติเค็มอ่อนๆ จากเนื้อปลาแซลมอน
  6. โจ๊กธัญพืช เพียงนำธัญพืชต้มสุกมาใส่ลงในโจ๊กก็ช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการและใยอาหารที่สามารถช่วยเรื่องปัญหาระบบขับถ่ายได้
  7. โจ๊กสาหร่าย เต้าหู้ หมูสับ เพียงใส่เต้าหู้ไข่ หมูสับ และสาหร่ายลงในโจ๊ก ก็ให้พลังงานและโปรตีนที่เหมาะสำหรับมื้อเช้า
  8. โจ๊กไข่ข้น วางไข่ข้นหอมๆ บนโจ๊กร้อนๆ ตกแต่งด้วยผัก 3 สีที่เตรียมไว้ล่วงหน้า ก็ได้โจ๊กที่น่ารับประทานและมีคุณค่าทางสารอาหาร และคุณประโยชน์ของไข่ที่เป็นแหล่งโปรตีนที่ดี

FullSizeRender (2)

FullSizeRender (3)

และนอกจากคุณค่าทางอาหารที่นักโภชนาการแนะนำให้เพิ่มเติมลงในมื้อเช้าของเด็กๆ แล้ว การตกแต่งหน้าตาอาหารให้น่ารับประทาน เช่น แต่งหน้าโจ๊กเป็นหน้ายิ้ม เป็นตัวการ์ตูน ก็ช่วยให้มื้อเช้ากลายเป็นมื้อโปรดของคุณแม่และคุณลูกได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย

“นอกจากการรับประทานอาหารเช้าที่มีประโยชน์แล้วการส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายเป็นประจำ นอกจากจะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง เสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกให้เจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่แล้ว ยังจะทำให้เด็กมีสุขภาพจิต และอารมณ์ที่ดี เพราะการออกกำลังกายทำให้เด็กได้ผ่อนคลายความเครียด และใช้เวลาว่างอย่างเป็นประโยชน์มากที่สุด รวมถึงต้องให้เด็กๆ พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจที่สมวัย” ผศ.ดร.สุวิมล กล่าวทิ้งท้าย

 

 

 

 

รับสมัครนิสิตเข้าร่วมโครงการ Diversity Voyage In Bangkok

รับสมัครนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร

เข้าร่วมโครงการ Diversity Voyage In Bangkok

ซึ่งเป็นโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับนักศึกษาจาก Toyo University ประเทศญี่ปุ่น

ที่มาทัศนศึกษาดูงาน ระหว่างวันที่ 12-17 มีนาคม 2559

 

นิสิตคนใด สนใจเข้าร่วมโครงการฯ ให้ลงทะเบียนกับโครงการฯ โดยตรง

ผ่านทาง Link  สมัครลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม

 

 

GiFT0

 

GIFT1

 

 

ประกาศให้ทุนการศึกษา โครงการ CBS Innovation Business Online

ประกาศให้ทุนการศึกษา โครงการ CBS Innovation Business Online
สำหรับนิสิต ป.ตรี สาขาโภชนาการและการกำหนดอาหาร

Slide1

Slide2

Slide3

 

ดาวน์โหลดใบสมัคร ได้ที่

ใบสมัครขอรับทุน CBS

 

ภาควิชาฯ ร่วมกับโครงการระบบความปลอดภัยอาหาร จุฬาฯ ลงพื้นที่ตรวจสารเคมีต้องห้ามในอาหาร

ตามที่ ภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร ภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือดและจุลชีววิทยาคลินิก และศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ร่วมกับ โครงการระบบความปลอดภัยอาหารของโรงอาหารรวมในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดกิจกรรม “การเฝ้าระวังสารเคมีที่ห้ามใช้ปนเปื้อนในอาหารขึ้น” ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการย่อยที่ 2 ของโครงการระบบความปลอดภัยอาหารของโรงอาหารรวมในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2559 โดยเป็นกิจกรรมที่เป็นการบูรณาการการให้บริการวิชาการกับการเรียนการสอนรายวิชา 3743305 ความปลอดภัยอาหารของภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเฝ้าระวังการปนเปื้อนของสารเคมีต้องห้ามในอาหารที่จำหน่ายในโรงอาหารรวมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกทั้งยัง เป็นการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและนิสิตในการดูแลเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) อีกทางหนึ่ง

โดย เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2559 ที่ผ่านมา คณาจารย์จากภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร และภาควิชาเวชศาสตร์การธนาคารเลือดและจุลชีววิทยาคลินิกจำนวน  11 ท่าน เจ้าหน้าที่ภาคฯและนิสิตบัณฑิตศึกษาจำนวน 8 ท่าน เจ้าหน้าที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจำนวน 5 ท่าน  พร้อมด้วยนิสิตชั้นปีที่ 3 จากภาควิชาโภชนาการและการกำหนดอาหาร จำนวน 24 คน ได้ลงพื้นที่เพื่อทำการสุ่มตัวอย่างอาหารสด อาหารปรุงสุกและเครื่องปรุงจากโรงอาหารทั้งหมด 7 แห่งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้แก่ โรงอาหารรวมสำนักงานมหาวิทยาลัย  โรงอาหารรวมจุฬาพัฒน์ 9  โรงอาหารรวมจุลจักรพงษ์ โรงอาหารรวมอาคารจอดรถ 3 โรงอาหารรวมมหิตลาธิเบศร โรงอาหารรวมพินิตประชานาถ และโรงอาหารรวมมหาจักรีสิรินธร เพื่อทำการตรวจสอบสารเคมีต้องห้ามในอาหารต่างๆ ได้แก่  ยาฆ่าแมลง บอแรกซ์ ฟอร์มาลิน สารกันรา สารฟอกขาว น้ำส้มสายชูปลอม และปริมาณสารโพล่าร์ในน้ำมันทอดซ้ำ โดยผู้ประกอบการร้านอาหารต่างๆ ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี

1.ภาพบรรยากาศการตรวจสอบสารเคมีต้องห้ามในอาหารต่างๆ ของโรงอาหารรวมสำนักงานมหาวิทยาลัย

44116

2. ภาพบรรยากาศการตรวจสอบสารเคมีต้องห้ามในอาหารต่างๆ ของโรงอาหารรวมจุฬาพัฒน์ 9

จุฬาพัฒน์9_3549

3.ภาพบรรยากาศการตรวจสอบสารเคมีต้องห้ามในอาหารต่างๆ ของโรงอาหารรวมจุลจักรพงษ์

โรงอาหารจุลจักรพงษ์_7722

4.ภาพบรรยากาศการตรวจสอบสารเคมีต้องห้ามในอาหารต่างๆ ของโรงอาหารรวมอาคารจอดรถ 3

โรงอาหารอาคารจอดรถ 3_4156

5.ภาพบรรยากาศการตรวจสอบสารเคมีต้องห้ามในอาหารต่างๆ ของโรงอาหารรวมมหิตลาธิเบศร

4163

6.ภาพบรรยากาศการตรวจสอบสารเคมีต้องห้ามในอาหารต่างๆ ของโรงอาหารรวมพินิตประชานาถ

รอห.พินิตฯ 260159_976

7.ภาพบรรยากาศการตรวจสอบสารเคมีต้องห้ามในอาหารต่างๆ ของโรงอาหารรวมมหาจักรีสิรินธร

รอห.มหาจักรีฯ 260159_3134